1. ใบชาต้าหงผาว,เจิ้งซันเสียวจาง,จินจวิ้นเหมย ขนาด100กรัม
ใบชาต้าหงผาว,เจิ้งซันเสียวจาง, จินจวิ้นเหมย ขนาด 100 กรัม -ใบชาเจิ้งซันเสียวจ่งเป็นชาอีกชนิดหนึ่งที่แยกออกมาจากใบชาต้าหงผาว(สําหรับจักรพรรดิ์เท่านั้นที่ดื่มได้)ซึ่งพื้นที่ในการปลูกอยู่ที่ภูเขาอู่อี๋ซันและต้องมาจากถิ่นกําเนิดชื่อว่าท้งมู่กวนโดยจํากัดพื้นที่บริเวณในการปลูกเท่านั้น พื้นที่ห่างออกไปก็ไม่สามารถปลูกเจิ้งซันเสียวจ่งได้ หากว่าต่างกันที่ ดิน น้ํา และสภาพอากาศที่แตกต่างกัน ก็จะทําให้มีรสชาติของใบชาแตกต่างกันออกไป รสชาติและเอกลักษณ์ของใบชาเจิ้งซันเสียวจ่งดั้งเดิมนี้คือ รสชาติจะหวานติดปลายลิ้นให้รสสัมผัสหวานอ่อน คล้ายกับรสชาติของลําไยน้ําสีทองชัดเจน ซึ่งเป็นจุดเด่นของใบชาชนิดนี้ สามารถชงได้ 5-6 ครั้ง โดยที่สีของน้ําชา ไม่เปลี่ยนแปลง โดยชาชนิดนี้ สามารถดื่มพร้อมกับ อาหารที่มีส่วนผสมของเครื่องเทศ ที่เน้นเครื่องเทศหนักๆ เช่น แกงกระหรี่ จะทําให้รสชาติของอาหารอร่อยมากขึ้น -ต้าหงผาวเป็นชนิดเดียวกับชาอู่หลงสุดยอดใบชา ชาอู่อี๋ต้าหงผาวเป็นเสมือนเพชรน้ํางามในบรรดาชาที่มีชื่อของจีน ได้รับสมญาว่าเป็น “ชาจองหงวน” ชาต้าหงผาวจัดว่าเป็นราชาของชาเหยียนฉา (ชาเหยียน=ชาผาหิน เป็นชาที่ขึ้นอยู่บนผาหิน) ได้รับการขนามนามว่าเป็น “ราชาแห่งชาเหยียนฉา” ถือว่าเป็นสัมบัติอันล้ําค่าของประเทศชาติ ซึ่งในอดีตจะดื่มได้เฉพาะจักรพรรดิ์ และฮ่องเต้ เท่านั้น -จินจวิ้นเหมยเมื่อเอ่ยถึงชาแดงจากแผ่นดินใหญ่ ชาตัวแรกที่นักดื่มชาจะนึกถึงกันก็คือชา 金骏眉 (จินจวิ้นเหมย) คิ้วอาชาทองชนิดนี้เองเพราะถือเป็นสุดยอดของชาแดงแดนมังกร ชาตัวนี้เกิดการพัฒนาจากพันธุ์ชา 正山小种 (เจิ้งซานเสี่ยวจ้ง) ซึ่งนํามาทําชาแดงเขตเพาะปลูกของชาดังกล่าวคือที่มณฑล 福建 (ฝูเจี้น/ฮกเกี้ยน) เทือกเขา 武夷山 (อู่อี๋ซาน/บู๊อี่ซัว) ตําบล 星村镇 (ซิงชุนเจิ้น) บริเวณที่เรียกว่า 桐木关 (ถงมู่กวน) อันมีความสูงเหนือระดับน้ําทะเล 1,000-1,500 เมตร พื้นที่นี้เพาะปลูกชากันมาช้านานชาคิ้วอาชาทองก็เกิดขึ้นที่บริเวณนี้เช่นกันแต่ขยับความสูงขึ้นไป ใบชาจินจวิ้นเหมยจัดเป็นสุดยอดใบชาแห่งปี เพราะมีรสชาติคล้ายลําไยอบแห้ง ซึ่งเกิดจากการปลูกโดยธรรมชาติ และชงได้ถึง 8 ครั้ง เลยทีเดียว ติดตามดูไลฟ์ได้เลย (ไลฟ์สด)ย้อนกลับไปดูได้ค่ะ